วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 4


ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)
1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
การศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ เพื่อความสมบูรณ์และเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สังคม อารมณ์และจิตใจในการดำรงชีวิต เมื่อการศึกษานับเป็นกระบวนการพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาคน ดังนั้นประชากรในประเทศหนึ่งๆจึงควรได้รับสิทธิในการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันเป็นระยะเวลาที่เหมาะสม
2.ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
โดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษา แห่งชาติได้กำหนดให้ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคล ซึ่งอยู่ในความ ดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมาย  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 ก. ผู้ปกครอง   หมายความว่า บิดามารดา หรือบิดา หรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน
ข.เด็ก   หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้า ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
ค.การศึกษาภาคบังคับ  หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
3.กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษา ให้สถานศึกษาเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน เมื่อผู้ปกครองร้องขอ
4.ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ มีทั้งหมด 21 ข้อ
ประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ
1. อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ในกฎหมายพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
 2.  อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ การจัดการศึกษา
 3.  การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือ ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การศึกษา และระเบียบบริหารราชการในสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
4.  การกำหนดตำแหน่ง ลดอัตราเงินเดือน ของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ ให้คำนึงถึงคุณวุฒิ ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ ลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบ รวมถึงคุณภาพของงาน
5.  บทบาทของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ คือ อำนาจในการออกกฎหมายกระทรวง ระเบียบและประกาศ และตีความวินิจฉัย ชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
6.  การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง คือ ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานรัฐมนตรี และสำนักเลขาธิการสภาการศึกษา
7.  ส่วนราชการส่วนกลาง กระทรวงศึกษาธิการที่ไม่เป็นนิติบุคคล คือสำนักงานรัฐมนตรี
  8.  ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 9.  การประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา10.  ประธานคณะกรรมการการสภาการศึกษา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ11.  คณะกรรมการที่กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับนี้ คือ คณะกรรมการสภาการศึกษา
12.  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือผู้รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
13.  เลขาธิการรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมือง
14.  การติดตาม ประเมินผลนโยบายตามภารกิจ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
15.  หน่วยงานระดับกระทรวงศึกษาธิการ กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่ากรม และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นหน่วยงานที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้
16.  การศึกษา วิเคราะห์วิจัย นิเทศติดตามและประเมินผลการบริหารการดำเนินงาน คือบทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
17.  บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ การประเมินความพร้อมในการจัดการศึกษา เสนอแนะ การจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และการประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
18.  ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับกว่าปริญญาตรีได้ จะมีสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่จะมาจัด
19.  หน่วยงานอื่นสามารถจัดการศึกษา ในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ และการจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดการศึกษาได้
20.  ผู้บังคับบัญชาข้าราชการสำนักงานรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการ
 21.  ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา คือ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น