หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1. ท่านคิดอย่างไร
ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จง อธิบายให้เหตุผล
พระราชบัญญัติ
เป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์รองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นเป็นกฎหมายบังคับใช้แก่ประชาชน
โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนและวุฒิสภา
2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง
จงอธิบาย
ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษา
มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย
จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม
มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
มาตรา 7
ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค
และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย
รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล
ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีความสามารถในการประกอบอาชีพรู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์
ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง
3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง
จงอธิบาย
มาตรา 8
การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
(1)
เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน คือ การจัดกระบวนการทางการศึกษา
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด
การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal
Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal
Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self -
directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง
และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
(2)
ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา คือการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรม ตั้งแต่การศึกษาปัญหา การวางแผนดำเนินการ การตัดสินใจ
การแก้ไขปัญหา และการประเมินร่วมกัน
เพื่อขับเคลื่อนให้กิจกรรมนั้นดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม
คือ หลักร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับผิดชอบ
(3)
การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่าง
4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง
และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง
และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
(1) มีเอกภาพด้านนโยบาย
และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2)
มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา
และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและประเภทการศึกษา
(4)
มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาและการพัฒนาครู
คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ
มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว
ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง
จงอธิบาย
มาตรา 10 การจัดการศึกษา
ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย
จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ
หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส
ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง
ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ
ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น
มาตรา 11 บิดา มารดา
หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา
17
และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ
ตามความพร้อมของครอบครัว
มาตรา 12 นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว
องค์กรชุมชน
องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นมีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 13 บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
(1) การสนับสนุนจากรัฐ
ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
(2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลที่ครอบครัวจัดให้
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
(3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
มาตรา 14 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถาน-ประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี
ดังต่อไปนี้
(1) การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบ
(2) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
(3) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้างจงอธิบาย
การจัดการศึกษามี 3 ระบบ คือ
1.
การศึกษาในระบบ
คือ ระยะเวลาสำเร็จการศึกษาแน่นอน
2.
การศึกษานอกระบบ
คือ ยืดหยุ่น เงื่อนไขสำเร็จการศึกษา
3.
การศึกษาตามอัธยาศัย
คือ เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ
การจัดการศึกษาในระบบมี
สองระดับ
-
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
(12 ปี )
-
การศึกษาระดับอุดมศึกษา
**การจัดการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9
ปีอายุย่างปีที่ 7 - ย่างเข้าปีที่ 16
7.ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา
ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ในการจัดการศึกษาเราต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มีทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ
และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม
กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง
และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2)
ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ
วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์
และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ มีดังต่อไปนี้
(1)
จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(2) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ
การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(3)
จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้
คิดเป็นทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง
ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม
ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(5)
ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม
สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้
รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้
ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง
ๆ
(6)
จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่
มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย
เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
8.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3
มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร
แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓)พ.ศ.๒๕๕๓”
มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓๗
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา ๓๗
การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึงระดับของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
เว้นแต่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษา
มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
แบ่งเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรณีที่สถานศึกษาใดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาการกำหนดให้สถานศึกษาแห่งนั้นอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาใด
ให้ยึดระดับการศึกษาของสถานศึกษานั้นเป็นสำคัญ ทั้งนี้
ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรณีที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจบริหารและจัดการได้ตามวรรคหนึ่ง
กระทรวงอาจจัดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้เพื่อเสริมการบริหารและการจัดการของเขตพื้นที่การศึกษาก็ได้
(๑)การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย
จิตใจ สติปัญญาอารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้
หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพ
(๒)การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จัดในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย(๓)การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษ
(๔)การจัดการศึกษาทางไกล
และการจัดการศึกษาที่ให้บริการในหลายเขตพื้นที่การศึกษา”
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของมาตรา ๓๘
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
“ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานศึกษาเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเขตพื้นที่การศึกษาใด
ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”
หมายเหตุ :เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา
ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา
สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ
อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
9.การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่
เพราะเหตุใด
ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าเพื่อให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีความเป็นอิสระคล่องตัว สามารถบริหารจัดการการศึกษาได้สะดวก รวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพถานศึกษา
สถานศึกษาจะได้มีการกระจายอำนาจตามรูปแบบการบริหารซึ่งโรงเรียนเป็นฐานการ
กระจายอำนาจและความรับผิดชอบจากผู้บริหารสถานศึกษาไปยังบุคลากรที่รับผิดชอบ แต่ละฝ่ายงาน
ทำให้ให้ผู้รับผิดชอบมีอิสระและคล่องตัวในการตัดสินใจในการดำเนินงานทั้ง
ฝ่ายงานบริหารวิชาการ ฝ่ายงานบริหาร งบประมาณ ฝ่ายงานบริหารบุคคล
ฝ่ายงานบริหารทั่วไป เป็นการจัดการศึกษาโดยยึดหลักการกระจายอำนาจ
หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและหลักการบริหารจัดการที่ดี
ดำเนินในรูปของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ วางแผน
กระบวนการปฏิบัติ
กระบวนการตรวจสอบและกระบวนการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการจัดการการศึกษา
10.การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม
ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
เห็นด้วย
เพราะการศึกษาไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้จากโรงเรียน
หรือจากมหาวิทยาลัยเพียงแค่อย่างเดียว แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งอาจจะเป็น
วัด สถาบันทางศาสนา ท้องถิ่น หรือชุมชนที่มีความพร้อมในด้านปัจจัยต่างๆ
ก็สามารถจัดการศึกษาที่ให้ความรู้ ให้การศึกษาแก่ผู้เรียนได้เช่นเดียวกัน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า
ในสมัยก่อนที่การศึกษาของประเทศไทยจะเจริญรุ่งเรืองหรือเป็นที่แพร่หลายอย่างเช่นปัจจุบันนี้
ก็มีการจัดการเรียนการสอน การศึกษาจากวัดสำหรับผู้ชาย
ก็พบว่าสามารถจัดการศึกษาและอบรมคนไทยในสมัยนั้นให้เป็นคนดีได้เช่นกัน
11.หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ข้อ 3
ให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ข้อ 4
ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
1. กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
2. กำกับ ติดตาม
และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
3.เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ
ทบทวน และรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ข้อ 5ให้สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
ภายในสถานศึกษา ข้อ 6
ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา
ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อ 7 ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
โดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้
1. เป็นแผนที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และความจำเป็นอย่างเป็นระบบ
และมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ
2. กำหนดวิสัยทัศน์
ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน
และเป็นรูปธรรม
3. กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา
หรือผลการวิจัย
หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร
และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
4. กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
5. กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผู้เรียนรับผิดชอบ
และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางให้บิดา
มารดา ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
7. กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ 8 ให้สถานศึกษาดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ข้อ
9 ให้คณะบุคคลตาม ข้อ 4 (3)ดำเนินการตรวจสอบ
ทบทวน และรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม โดยให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ข้อ 10
ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลักและคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐาน
ข้อ 11 ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา พร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ตาม
ข้อ 10 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชน
ข้อ 12
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริม สนับสนุน
และร่วมดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้
1. จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
2. จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้
และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปีหรือเป็นรายภาค
3.จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก
และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐาน
ข้อ 13 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบ
และทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ ข้อ 14
ให้หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย
และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ข้อ 15ในวาระเริ่มแรก
ที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ให้บรรดาอำนาจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอำนาจของหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด
12.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งรัฐและเอกชน
ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
เห็นด้วย
เพราะเป็นหลักฐานการอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุมตามมาตรา ๔๓
แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.๒๕๔๖
มีสิทธิประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้ ซึ่งออกให้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา ๕๓
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๖ ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐและเอกชน
ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ยกเว้น ผู้มิได้ประกอบวิชาชีพหลักด้านการเรียนการสอน
บุคลากรทางการศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย การจัดการศึกษาในศูนย์การเรียน
ผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุมดังกล่าวโดยไม่ได้รับใบอนุญาต
หรือแสดงด้วยวิธีการใด ๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิหรือพร้อมที่จะประกอบวิชาชีพ
รวมทั้งสถานศึกษาที่รับผู้มิได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษาจะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ในมาตรา
๗๘ และ ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติ
13.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
โดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในกาจัดการศึกษา
บริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา
และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็นทั้งนี้ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากร โดยการสนับสนุน
การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และจัดสรรในการบริหารการใช้จ่ายให้เหมาะสม
14.ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
สื่อและเทคโนโลยีต้องคลอบคลุมให้เหมาะสมกับเนื้อหาการเรียนรู้
และเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ทุกฝ่าย สื่อต้องเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน
และเป็นตัวช่วย หรือเครื่องมือให้กับมนุษย์อย่างดี และนำไปใช้ได้หลากหลายวิธี
ทุกที่ ทุกเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น