วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 8

เมื่อนักศึกษาอ่านพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อใด  และมีผลบังคับใช้เมื่อใด
พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประกาศใช้เมื่อ 9 ตุลาคม 2546   และมีผลบังคับใช้วันที่ 10 ตุลาคม 2546
2.ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือใคร
ผู้รักษาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ นายกรัฐมนตรี
3.เหตุผลที่ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เพราะอะไร
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานของส่วนราชการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ และให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการและการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการนี้ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกินความจำเป็น และประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอและเนื่องจากมาตรา 3/1 แห่ง พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 บัญญัติให้การกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
4.พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีกี่หมวดกี่มาตรา ประกอบด้วยอะไรบ้าง
พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีหมวด 9 หมวด 53 มาตรา ประกอบด้วย  
            หมวดที่ 1 เป็นการกำหนดขอบเขตความหมาย 
หมวดที่ 2 กำหนดแนวทางการบริหารราชการ
หมวดที่ 3 กล่าวถึง “การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
หมวดที่ 4 การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่า
หมวดที่ 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
หมวดที่ 6 การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
หมวดที่ 7 การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
หมวดที่ 8 การประเมินผลการปฏิบัติราชการ 
5.วัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ประกอบอะไรบ้าง
เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน 
            เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ 
6.หน่วยงานใดที่มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรี
7.หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนต้องดำเนินการจัดทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาภายในกำหนดเวลากี่วัน
หลังจากที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
8.แผนบริหารราชการแผ่นดินนั้น  กำหนดให้จัดทำแผนกี่ปี

แผน ปี
9.ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือใคร
ผู้ที่ทำหน้าที่ประเมินหน่วยงานของรัฐตามพระราชกฤษฎีฉบับนี้คือ คณะผู้ประเมินอิสระ
10.การประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ประเมินอะไรบ้าง อธิบาย
คณะผู้ประเมินอิสระดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ  คุณภาพการให้บริการ  ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ  ความคุ้มค่าในภารกิจ  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์  วิธีการ  และระยะเวลาที่  ก.พ.ร.  กำหนด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น